วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ธ.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 19 ธ.ค. 2567

| 145 view

การขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (E-Passport)

1.การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ E-Passport

ท่านจะต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน ที่ อีเมล์ [email protected]

การทำ E-passport ต้อง มาด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย

การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาทำการ 4 ถึง 6 อาทิตย์โดยประมาณ

ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอายุ 5 ปี 2,500 รูปี / ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอายุ 10 ปี (สำหรับบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น) 4,000 รูปี 


2. ต้องเตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง?

2.1 บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป

หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันหรือสำเนา

สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด

สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ/สกุล (หากมี)

 

2.2 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรส

หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน

สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด

สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด

สำเนา ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด

สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด (หากบิดามารดาเป้นชาวต่างชาติ)

สำเนาหน้า บัตรประชาชน ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด

 

2.3 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส

หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน

สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด

สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด

สำเนา ใบปกครองบุตร หรือ ป.ค. 14 จำนวน 1 ชุด

สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของมารดา จำนวน 1 ชุด

สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด

 

2.4 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าเเล้ว

หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน

สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด

สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด

สำเนา ใบหย่า ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด

สำเนา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค. 14 หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด

สำเนา หน้าบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน ของผู้ปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด

สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด

การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม


บัตรประจำตัวประชาชนไทย
การเตรียมหลักฐานการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
 
1. กรณีบัตรหมดอายุ
  • ก่อนวันบัตรหมดอายุ 60 วัน
  • หลังวันบัตรหมดอายุ 60 วัน
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง : บัตรประชาชนใบเดิม และ เอกสารแสดงถิ่นที่อยู่ในอินเดีย
 
2. กรณีบัตรสูญหายหรือถูกทำลาย
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง :
  • สำเนาบัตรประชาชนใบเดิม (ถ้ามี)
  • หลักฐานเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรที่ทางราชการไทยออกให้ เช่น E-Passport ใบขับขี่ เป็นต้น
  • เอกสารแสดงถิ่นที่อยู่ในอินเดีย
 
3. ขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง :
  • บัตรประชาชนใบเดิม
  • หลักฐานเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรที่ทางราชการไทยออกให้ เช่น E-Passport ใบขับขี่ เป็นต้น
  • เอกสารแสดงถิ่นที่อยู่ในอินเดีย
 
4. ขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง:
  • บัตรประชาชนใบเดิม
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล
  • เอกสารแสดงถิ่นที่อยู่ในอินเดีย
 
5. ขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากเปลี่ยนที่อยู่
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง:
  • บัตรประชาชนใบเดิม
  • เอกสารการเปลี่ยนที่อยู่
  • เอกสารแสดงถิ่นที่อยู่ในสหรัฐฯ


บุคคลที่ไม่สามารถทำบัตรประชาชนไทยในต่างประเทศได้
  • ผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
  • ผู้ที่บัตรหมดอายุเป็นเวลานานและข้อมูลยืนยันตัวตนไม่ชัดเจน(ต้องตรวจสอบ)
  • ผู้ที่ไม่มีข้อมูลการทำบัตรประชาชนใบแรกที่ประเทศไทย


อัตราค่าธรรมเนียม
  • กรณีบัตรหาย 
  • กรณีเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล 
  • กรณีบัตรชำรุด
  • กรณีเปลี่ยนที่อยู่ 

ฉบับละ 250 รูปีอินเดีย


ขั้นตอนการให้บริการการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน
  • กรอกเอกสารแจ้งความประสงค์ขอมีบัตร
  • รับบัตรคิวตรวจสอบเอกสาร
  • ตรวจสอบลายนิ้วมือถ่ายรูป
  • พิมพ์บัตร
  • รับบัตร

 

การขอผ่อนผันทหาร
เอกสารที่ต้องใช้มี ดังนี้

  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • หนังสือรับรองจากโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย (ระบุชื่อหลักสูตร)
  • วันที่เริ่มศึกษาตามหลักสูตรและวันที่คาดว่าจะจบการศึกษาตามหลักสูตร)
  • สำเนาเอกสารต้นฉบับที่ใช้แปล

 

งานทะเบียนครอบครัว (ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า)

  1. ข้อมูลทั่วไป

การจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่าที่สถานกงสุลฯ จะกระทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทย หรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติ และเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย

การขอจดทะเบียนฯ ต้องติดต่อนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการ  ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องส่งเอกสารประกอบให้เจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเพื่อเตรียมจัดพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การจดทะเบียนฯ จะนัดหมายเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานกงสุลใหญ่ฯ ในวันทำการ และใช้เวลาประมาณ 30 นาที ไม่เสียค่าธรรมเนียม

 

  1. เอกสารประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนสมรส มีดังนี้

กรอกรายละเอียดในคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

ในกรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนและหย่าแล้ว ต้องมีสำเนาทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย

ในวันจดทะเบียนสมรสต้องนำพยานไปด้วย 2 คน พยานต้องนำหนังสือเดินทาง และบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย

 

หมายเหตุ : การจดทะเบียนสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน มีผลสมบูรณ์ ตามกฏหมายไทย แต่ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอินเดีย หากประสงค์จะให้การจดทะเบียนสมรสมีผลทางกฏหมายทางอินเดีย กรุณาติดต่อทางการอินเดียในแต่ละรัฐเพื่อขอทราบรายละเอียด

 

  1. เอกสารประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนหย่า มีดังนี้

กรอกรายละเอียดในคำร้องขอจดทะเบียนหย่า และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

ทะเบียนสมรสต้นฉบับของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย (หากเป็นภาษาต่างชาติ ขอให้นำเอกสารดังกล่าวไปแปลและรับรองจากทางการของประเทศนั้น)

หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

ในวันจดทะเบียนหย่าต้องนำพยานไปด้วย 2 คน ( คนไทยหรือต่างชาติก็ได้ ) โดยพยานต้องนำหนังสือเดินทางและบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย